วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

การฝึกระนาดเอกขั้นพื้นฐาน

การตีฉาก
มีวิธีตีระนาดเอกขั้นพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่งเรียกว่า "การตีเก็บ" เป็นวิธีตีซึ่งใช้อยู่เสมอในการบรรเลงระนาดเอก การตีเก็บคือการตีไม้
ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบลูกระนาด 2 ลูกพร้อมกัน โดยตีลงบนลูกระนาดซึ่งมีเสียงตัวโน้ตเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคน ละระดับเสียงเช่น
เสียง ซอล (ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และเนื่องจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า "ตีคู่แปด"

การที่จะตีเก็บคู่แปดให้ได้เสียงระนาดเอกที่ไพเราะน่าฟังนั้นมีพื้นฐานสำคัญมาจากการฝึกตีระนาดที่เรียกกันว่า "ตีฉาก" คือการกำหนดรู้
การใช้กำลังกล้ามเนื้อแขนเพื่อให้ได้เสียงระนาดที่ดังเท่ากันทั้งสองมือ ผู้ที่เรียนระนาดเอกทุกคนจะต้องฝึกการตีฉากเพื่อปรับน้ำหนักมือทั้งสอง
ข้างให้เสมอกันเสียงระนาดเอกจึงจะคมชัดเจน
ลักษณะการตีฉากคือ มือทั้งสองข้างจับไม้ระนาดเอกในลักษณะการจับแบบปากกา ระยะห่างจากหัวไม้ประมาณ 8 นิ้ว โดยใช้นิ้วกลาง, นิ้วนาง และ นิ้วก้อย จับก้านไม้ระนาดให้แน่น แขนและไม้ตีอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน วางหัวไม้ระนาดเอกไว้ตรงกลางของลูกระนาด จากนั้นยกไม้ตีระนาดขึ้นช้าๆให้สูงจากผืนระนาดประมาณ 1 ฟุต แล้วตีหรือทุบลงบนลูกระนาดอย่างรวดเร็ว โดยการเกร็งกล้ามเนื้อแขนและข้อมือให้ไม้ตีและ
ท่อนแขนอยู่ในแนวเดียวกัน หัวไม้ตีจะต้องสัมผัสลูกระนาดเต็มหน้าไม้และตั้งฉากกับผิวหน้าของลูกระนาด การตีฉากแต่ละครั้ง น้ำหนักของทั้ง
สองมือที่ตีลงไปต้องเท่ากัน เพื่อให้เสียงที่เกิดจากการตีมีคุณภาพ เสียงต้องโปร่งใส เวลาตีต้องใช้กำลังประคองไม้ระนาดในการยกขึ้นให้สูงเท่า
กัน และใช้น้ำหนักมือในการตีโดยให้หัวไม้ระนาดทั้งสองสัมผัสกับผิวลูกระนาดพร้อมกัน และรีบยกหัวไม้ระนาดขึ้นระดับสูงสุดทันทีโดยใช้ข้อ
ศอกเป็นจุดหมุน ซึ่งจะทำให้ข้อมือและแขนไม่มีการขยับหรืองอและยังคงเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน

การตีสงมือหรือการตีสิม
คือการตีเก็บสองมือพร้อมกันโดยยกไม้ระนาดให้มีความสูง 1 ใน 4 ของการตีฉาก ให้เสียงลงเท่ากัน แล้วรีบยกมือขึ้นโดยเร็ว และต้องรู้
จักการประคองน้ำหนักให้เหมาะสมการตีลักษณะนี้เหมาะกับการตีระนาดเอกมโหรี ซึ่งเป็นการประดิษฐ์เสียงระนาดให้มีความคมชัดไพเราะ ผู้ที่จะทำเสียงนี้ได้ต้องผ่านการฝึกการตีฉากมาแล้ว

การตีครึ่งข้อครึ่งแขน
คือการตีโดยใช้กล้ามเนื้อแขนสลับกับกล้ามเนื้อข้อมือโดยการผ่อนแขนและข้อมือให้มีการเกร็งน้อยลง (เกร็งไหล่ ผ่อนแขน) ทำให้เกิด
เสียงที่นุ่มนวล และยังเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์เสียงระนาดเอกแบบต่างๆอีกมากมาย

การตีสับ
คือการตีระนาดโดยการสลับมือตามแบบวิธีตีฆ้อง

การตีกรอ
การตีกรอเป็นวิธีตีระนาดเพื่อให้ได้พยางค์เสียงยาว ตามปกติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเช่น ระนาดเอกนั้น มีพยางค์เสียงสั้นเพราะเสียงที่ตีเกิดจากการกระทบกันของไม้ระนาดและลูกระนาดเป็นครั้งๆไป เมื่อจะบรรเลงเพลงที่ต้องการพยางค์เสียงยาวจึงต้องใช้ วิธีตีกรอคือการตีลูก
ระนาด 2 ลูกสลับมือกันเร็วๆ ด้วยน้ำหนักมือทั้งสองข้างที่เท่ากันโดยให้มือซ้าย (เสียงต่ำ) ลงก่อนมือขวา แต่ทั้งสองมือไม่ได้ตีอยู่ที่เดียวกัน มัก
จะตีเป็นคู่ 2, 3, 4, 5, 6, หรือ 8 เป็นต้น
วีธีฝึกควรเริ่มต้นจากการ กรอหยาบ ก่อน คือการตีมือซ้ายสลับมือขวาช้าๆ (ลงมือ ซ้ายก่อน) แล้วค่อยๆเร่งความเร็วขึ้นนจนสุดกำลังโดย
รักษาความชัดเจนและน้ำหนักมือให้เท่ากัน ส่วนในการบรรเลงจริงจะใช้การกรอที่ละเอียดที่สุดทันทีไม่ต้องเริ่มจากการกรอหยาบก่อน

การตีเก็บ
คือการตีระนาดที่เพิ่มเสียงสอดแทรกให้มีทำนองถี่ขึ้นมากกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ซึ่งถ้าเขียนเป็นโน้ตสากลตัวเขบ็ต 2 ชั้นในจังหวะ 2/4 ก็
จะเป็นจังหวะละ 4 ตัว ห้องละ 8 ตัว
การบรรเลงทางเก็บในเพลงที่เป็น ทางเดี่ยว จะมีความพลิกแพลงโลดโผนกว่าการตีเก็บแบบธรรมดาแต่ก็เรียกว่า "ทางเก็บ" เช่นเดียวกัน| หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทางพัน"

การตีทดมือ,ทดเสียง
คือการบรรเลงแบบเสี้ยวมือ เมื่อต้องการให้ได้เสียงสูงขึ้น

การตีเสี้ยวมือ
คือการตีระนาดโดยใช้มือหนึ่งตียืนอยู่กับที่ ในขณะที่อีกมือหนึ่งตีดำเนินทำนองไปตามลูกระนาดอื่นๆ ทำให้เกิดเสียงประสานที่ไพเราะน่า
ฟัง
การตีสะเดาะ
คือการตีสะบัดยืนเสียงคู่แปด 3 พยางค์ห่างเท่าๆกันด้วยความเร็ว โดยยืนเพียงเสียงเดียว มีพื้นฐานมาจากการตีฉากแล้วเพิ่มความถี่ให้ละ
เอียดขึ้น ในการบรรเลงจริงใช้การตีในความถี่สูงสุดเท่าที่จะทำได้

การตีสะบัด
คือการตีคู่แปด 3 พยางค์ห่างเท่ากันด้วยความเร็ว โดยให้เสียงเคลื่อนที่เป็นคู่เสียงต่างๆ เช่น สะบัด 2 ลูกระนาด สะบัด 3 ลูกระนาด สะบัดข้ามลูก
ระนาด มีวิธีการฝึกคล้ายการตีสะเดาะ การสะบัดสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆดังนี้
1. สะบัดที่ลูกระนาดลูกเดียวให้เป็น 3 พยางค์ บางครั้งเรียกว่าการ สะเดาะ
2. สะบัดที่ลูกระนาดสองลูกให้เป็น 3 พยางค์ (ลูกใดลูกหนึ่งจะตี 2 พยางค์)
3. สะบัดที่ลูกระนาดสามลูกๆละพยางค์
การสะบัดยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นได้แก่
1. สะบัดร่อนผิวน้ำ สะบัดโดยดึงมือขึ้นอย่างรวดเร็ว ใช้กล้ามเนื้อครึ่งข้อครึ่งแขน
2. สะบัดร่อนน้ำลึก เสียงจะลึกและแน่นกว่า การสะบัดร่อนผิวน้ำ
3. สะบัดร่อนริดไม้ สะบัดโดยดึงข้อมือขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการใช้กล้ามเนื้อทั้งแขน เสียงจะเบาร่อน
4. สะบัดตัดคอ สะบัดโดยการใช้การตีแบบเสียงโตน้ำลึก โอกาสใช้น้อย มักจะใช้ตอนขึ้นเพลงเพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม แสดงพลัง
อำนาจ

การตีกระพือ
คือการตีเน้นคู่แปดให้เสียงดังเจิดจ้ากว่าปกติอย่างเป็นระเบียบ หรือเป็นการเร่งจังหวะขึ้น

การตีกลอน
คือการบรรเลงทำนองในลักษณะต่างๆอย่างมีความสัมพันธ์และสัมผัสกันโดยแปลจากทำนองฆ้องซึ่งเป็นทำนองหลักของเพลง
ลักษณะและข้อสังเกตของกลอนระนาดเอก
1. กลอนระนาดต้องมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างวรรคแรกและวรรคหลัง จะต้องเป็นกลอนลักษณะเดียวกัน (1 วรรค มีความยาวเท่ากับ 4
ห้องโน้ตไทย)
2. ในแต่ละกลอนสามารถแปรผันได้หลายรูปแบบ บางเพลงที่ทางฆ้องเอื้ออำนวย ก็จะสามารถแปลทางระนาดในลักษณะเดียวกันได้
ตลอดทั้งเพลง เช่น การใช้กลอนไต่ลวด
3. ในบางกรณีที่ทางฆ้องไม่เอื้ออำนวย วรรคแรกและวรรคหลังอาจใช้กลอนที่ไม่เหมือนกันก็ได้
4. ควรศึกษาว่ากลอนประเภทใดเหมาะกับเพลงประเภทใด รวมถึงแนวความช้า เร็ว ในการบรรเลง
วิธีดำเนินกลอนเพลงของระนาดเอกมีชื่อเรียกแบ่งออกได้ดังนี้
1. กลอนสับ
2. กลอนไต่ลวด
3. กลอนไต่ไม้
4. กลอนลอดตาข่าย
5. กลอนเดินตะเข็บ, ม้วนตะเข็บ, ย้อนตะเข็บ
6. กลอนซ่อนตะเข็บ
7. กลอนร้อยลูกโซ่
8. กลอนพัน
นอกจากนั้นยังสามารถแบ่งเป็นกลอนภาษาตามสำเนียงต่างๆได้ดังนี้
1. ไทย
2. จีน
3. เขมร
4. มอญ
5. พม่า
6. ลาว
7. แขก
8. ญี่ปุ่น
9. ฝรั่ง

การตีรัว
คือการตีสลับมืออยู่ที่ลูกระนาดลูกเดียวกันโดยใช้มือซ้ายลงก่อนมือขวาให้มี ความละเอียดซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บรรเลง มีรูปแบบต่างๆ เช่น
1. รัวลูกเดียว
2. รัวเป็นคู่ต่างๆ
3. รัวขึ้น-รัวลง
4. รัวคาบลูกคาบดอก คือการตีรัวเป็นทำนองเป็นวรรคตอนหรือประโยค ต่อด้วยการตีเก็บทำนองเป็นวรรคตอน ประโยค ตามทำนอง
เพลง มิใช่ตีเป็นทำนองเพลงที่ซ้ำกันกับการตีรัว ทั้งนี้ยกเว้นกรณีที่เป็นทำนองซ้ำกัน
5. รัวเป็นทำนอง (รัวพื้น) คือการดำเนินทำนองด้วยวิธีการรัวโดยตลอดทั้งท่อน
6. รัวกรอด คือการตีรัวโดยการบังคับเสียงช่วงท้ายให้สั้นลงโดยวิธีการกดหัวไม้ตี
7. รัวกรุบ คือการตีรัวโดยการกดหัวไม้ บังคับให้เสียงสั้นลงอย่างฉับพลันในช่วงเริ่มต้น
8. รัวดุ คือการตีรัวเน้นกล้ามเนื้อแขนและหัวไหล่พร้อมทั้งเกร็งข้อมือ ใช้นิ้วชี้กดหัวไม้เพื่อให้เสียงมีน้ำหนัก ดังหนักแน่น
9. รัวเสียงโต คือการตีรัวด้วยการบังคับกล้ามเนื้อเหมือนการรัวดุ แต่บังคับให้เสียงโปร่งกว่าโดยไม่กดหัวไม้ ไม่กดนิ้วชี้ เรียกอีกชื่อว่ารัว
เปิดหัวไม้
10. รัวฉีกอก คือการตีรัวแล้วแยกมือจากกันไปหาเสียงต่างๆที่ต้องการ
11. รัวก้าวก่าย คือการตีรัวดำเนินทำนองด้วยวิธีพิเศษในลักษณะการตีสลับมือเป็นเสียงเป็นทำนองต่างๆ
12. รัวไขว้มือ คือมือซ้ายตีอยู่เสียงหนึ่ง มือขวาจะไขว้ข้ามมือซ้ายตีรัวเป็นคู่เสียงต่างๆ ตีไขว้เป็นคู่เสียงอยู่กับที่ หรือตีไขว้เป็นคู่เสียง
เลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลงตามทำนองเพลง
13. รัวกระพือ คือการตีรัวแล้วเร่งเสียงให้ดังขึ้นกว่าปกติ
14. รัวปริบ คือการตีรัว แต่กดไม้ให้การสั่นสะเทือนมีน้อยที่สุดและห้ามเสียงโดยกดหัวไม้ที่เสียงสุดท้าย

การตีขยี้
คือการตีเสียงให้ถี่กว่าการตีเก็บอย่างน้อยสองเท่าโดยการเพิ่มพยางค์ในประโยคเพลงให้มากขึ้นกว่าการบรรเลงปกติ ทำได้สองวิธี คือ
1. เพิ่มโดยเติมพยางค์ให้มากขึ้นก่อนจะถึงลูกตกท้ายประโยค
2. เพิ่มโดยการบรรเลงประโยคนั้นให้เร็วขึ้นเป็นหลายครั้งภายในเวลาที่เท่ากับการบรรเลงเดิม
การขยี้วิธีหลังนี้ ผู้มีความสามารถสูงอาจทำได้ถึง 6 ครั้งในหนึ่งช่วงเวลาบรรเลงปกติ เรียกว่า "ขยี้ 6 ชั้น"

การตีตวาด
คือการตีเน้นเสียงมือขวาให้หนักในเสียงพยางค์แรก

การตีกวาด
คือการใช้ไม้ระนาดกวาดระไปโดยเร็วหรือช้าบนผืนระนาดในลักษณะต่างๆ

การตีไขว้
เป็นวิธีการบรรเลงที่อวดฝีมือใช้ในเพลงเดี่ยว โดยจะใช้มือขวาข้ามมือซ้ายไปตีเสียงต่ำ หรือมือซ้ายข้ามมือขวามาตีเสียงสูงก็ได้ การไขว้
มีหลายลักษณะแล้วแต่จะคิดประดิษฐ์ขึ้นและมีชื่อเรียกต่างๆกันไป

การตีเก็บคู่ 16
คือการตีโดยมือซ้ายและมือขวาแยกห่างในเสียงเดียวกันโดยแยกเป็น 2 ช่วงคู่แปด มักใช้ในการบรรเลงทางเดี่ยว

การตีเน้น
คือการตีเสียงดังขึ้นกว่าปกติตามที่ผู้บรรเลงต้องการ

การตีถ่างมือ (ตีเก็บผสมแยก)
คือวิธีตีเก็บคู่แปด ผสมแยกคู่เสียง

การตีปริบ, กริบ
ตีเช่นเดียวกับการตีกรอ แต่กดไม้ให้การสั่นสะเทือนมีน้อยที่สุดและห้ามเสียงโดยกดหัวไม้ที่เสียงสุดท้าย

การตีเสียงกลม
คือลักษณะของเสียงที่นุ่มนวล กลมกล่อม ไพเราะน่าฟัง เป็นเสียงที่มีคุณค่าและปฏิบัติได้ยากมาก กล่าวคือผู้ปฏิบัติต้องใช้ความปราณีต
บรรจงเป็นพิเศษในการที่จะสร้างเสียงให้มีความพอดี ฟังนุ่มนวลละมุนละไม ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยวิธี "ตีสงมือ" จับไม้แบบปากนกแก้ว
ตีฉากลงตรงกลางลูกระนาด แล้วรีบยกขึ้นอย่างทะนุถนอม เหมาะที่จะใช้บรรเลงเพลงที่มีท่วงทำนองอ่อนหวาน

การตีเสียงกรู
คือเสียงที่เกิดจากการรัวเสียงเดียว

การตีเสียง "ครู"
คือเสียงที่เกิดจากการตีกรอคู่ 2

การตีเสียงโรย
การตีโดยผ่อนจังหวะให้ช้าลงพร้อมทั้งลดน้ำหนักของเสียงที่บรรเลงเพื่อให้ได้เสียงดนตรีที่อ่อนหวานนุ่มนวล

การตีเสียงกรอด หรือเสียงมอดกัดไม้
คือการกรอโดยกดหัวไม้ ใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงอำนาจ

การตีเสียงกริก
เป็นการกรอที่มีลักษณะของเสียงสั้นกว่าเสียงกรอด นิยมใช้ในโอกาสที่ต้องการเน้นเสียงสุดท้ายในแต่ละประโยคของเพลงหรือทำนอง
เพลง เป็นการสอดแทรกในท่วง ทำนองระยะสั้นๆ โดยการตีเปิดหัวไม้

การตีเสียงแก้ว
คือลักษณะของเสียงที่นุ่มนวล กังวาน และสดใสดุจแก้ว โดยเฉพาะในการตีระนาดเอกมโหรีจะต้องจับไม้ตีให้หัวแม่มือเน้นที่ปลายก้าน
ไม้ตีให้แน่นและตีทั้งแขนหรือทั้งตัวแล้วรีบยกขึ้นโดยเร็ว เสียงจึงจะแข็งเป็นกังวานออกมาเป็นเสียงแก้ว

การตีเสียงโต แบ่งเป็น
1. การตีเสียงโตผิวน้ำ ใช้กล้ามเนื้อครึ่งข้อครึ่งแขนตีโดยการเปิดหัวไม้
2. การตีเสียงโตน้ำลึก ใช้กล้ามเนื้อทั้งตัว เกร็งข้อ แขน ตีโดยการเปิดหัวไม้ทำให้เกิดเสียงที่ลึกมีอำนาจ

การตีเสียงกรุบ
คือการกรอและหยุดบรรเลงในลักษณะฉับพลันให้มีเสียงสั้นกว่ากริกและกรอด มักใช้ในประโยคสุดท้ายของเพลง ตีโดยการเปิดหัวไม้

การตีเสียงร่อนใบไม้ไหว (การกรอใบไม้ไหว)
คือการกรอให้เสียงไหลเลื่อนไปตามทำนองเพลง โดยเสียงไม่สะดุด เรียกอีกอย่างว่า กลอกกลิ้ง เหมาะสำหรับทำนองเพลงที่อ่อนหวาน

การตีเสียงโปร่ง
คือการตีฉาก แล้วรีบยกไม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว

การตีเสียงเกลือก
คือลักษณะของเสียงที่ผู้บรรเลงไม่สามารถบังคับมือให้รักษาแนวการบรรเลงที่ดีได้ ทำให้เสียงที่บรรเลงไม่สม่ำเสมอ